377 จำนวนผู้เข้าชม |
เป็นการประกันภัยภาคบังคับที่รถทุกคันจะต้องทำ โดย พ.ร.บ. มีชื่อเต็มว่า “พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ” ซึ่งรัฐบาลได้ออกกฎหมายนี้ขึ้นมาเพื่อบังคับให้รถทุกคันต้องทำประกันภัย โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อคุ้มครองผู้ใช้รถใช้ถนนทุกคนที่ประสบอุบัติภัยอันเกิดจากยวดยานพาหนะในท้องถนน โดยมีผลบังคับใช้ ตั้งแต่ เดือน สิงหาคม พ.ศ. 2535 เป็นต้นมา ดังนั้นรถทุกคันจึงจำเป็นต้องทำประกัน พ.ร.บ. ซึ่งรวมถึง รถจักรยานยนต์และรถรับจ้างต่างๆ ด้วย
ความคุ้มครอง | วงเงินคุ้มครอง |
1. จำนวนเงินค่าเสียหายเบื้องต้น ได้รับโดยไม่ต้องรอพิสูจน์ความผิด | |
1.1 ค่ารักษาพยาบาล จากการบาดเจ็บ (ตามจริง) | ไม่เกิน 30,000 |
1.2 การเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพอย่างถาวร | 35,000 |
2. จำนวนเงินค่าเสียหายส่วนที่เกินกว่าค่าเสียหายเบื้องตัน ผู้ประสบภัยจะได้รับภายหลังจากการพิสูจน์แล้ว ว่าไม่ได้เป็นฝ่ายที่จะต้องรับผิดตามกฏหมาย โดยมีวงเงินคุ้มครองรวมกับค่าเสียหายเบื้องต้น ดังนี้ | |
2.1 ค่ารักษาพยาบาล จากการบาดเจ็บ (ตามจริง) | ไม่เกิน 80,000 |
2.2 การเสียชีวิต หรือทุพพลภาพอย่างถาวร | 300,000 |
2.3 สูญเสียอวัยวะ | |
- นิ้วขาด 1 ข้อขึ้นไป | 200,000 |
- สูญเสียอวัยวะ 1 ส่วน | 250,000 |
- สูญเสียอวัยวะ 2 ส่วน | 300,000 |
2.4 ชดเชยรายวัน 200 บาท รวมกันไม่เกิน 20 วัน กรณีเข้าพักรักษาพยาบาล ในสถานพยาบาลในฐานะคนไข้ใน | สูงสุดไม่เกิน 4,000 |
หมายเหตุ
- ผู้ขับขี่่ที่กระทำละเมิด (ฝ่ายผิด) จะได้รับแค่ ความคุ้มครอง ค่าเสียหายเบื้องต้นเท่านั้น
- ผู้ประสบภัย หมายรวมถึง ผู้ขับขี่ที่ถูกละเมิด ผู้โดยสาร และบุคคลภายนอก
- จำนวนเงินค่าเสียหายเบื้องต้นนี้เป็นส่วนหนึ่งของจำนวนเงินคุ้มครองผู้ประสบภัย (ดูในกรมธรรม์)